วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ท่านเกี่ยวข้องกับกล้องวงจรปิดหรือไม่

คดีปล้นร้านทอง คดีฆาตกรรม คดีการเมือง คดีทุจริต หลายคดีปิดลงได้เพราะกล้องวงจรปิด สถานการณ์โลกที่มีภัยรอบตัว ตั้งแต่ภัยลักทรัพย์ ทุจริต จนถึง ภัยก่อการร้าย ผู้คนต่างหวังพึ่งระบบกล้องวงจรปิดข่าวในโทรทัศน์ทุกวันจะมีพูดถึงกล้องวงจรปิด ทุกหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนต่างคิดถึงกล้องวงจรปิด วันนี้กล้องวงวรปิดเข้ามาใกล้กับแวดวงของท่านหรือยัง ที่บ้าน ที่ทำงาน ท่านเป็นผู้ที่จะต้องเลือกหรือต้องตัดสินใจหรือไม่ ท่านรู้จักกล้องวงจรปิดเพียงพอหรือยัง หลายคนเสียเงินไปกับกล้องวงจรปิดชุดแรกที่ถูกหลอกขายในราคาถูก จะใช้งานไม่ได้จริงหรือเสียหายในเวลาไม่กี่เดือน คนขายปฏิเสธความรับผิดชอบด้วยข้ออ้างมากมาย ขอแนะนำให้ท่านศึกษาโดยติดตามบทความนี้ จะทำให้ท่านจ่ายเงินครั้งเดียวได้ระบบที่คุ้มค่าในสมัยก่อนกล้องวงจรปิดมีไว้ให้รปภ.ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ที่กำหนดแต่ในปัจจุบันเมื่อมี High Speed Internet ขอบเขตการเฝ้าระวังได้ขยายออกไปอย่างไม่สิ้นสุด เดิมเคยมองภาพกล้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่นภายในโรงงาน ปัจจุบันดูได้จาก office ที่อยู่คนละที่ ดูได้จากต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

อะไรคือ ISO 22000 :2005

อะไรคือ ISO/TS 16949

มาตรฐาน ISO9001:2000

มาตรฐาน ISO9001:2000 เป็นมาตรฐานสากลที่ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบบริหารคุณภาพขององค์กร วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้ได้มีการกำหนดกลุ่มของข้อกำหนดที่ซึ่งหากมีการนำระบบไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผล จะทำให้ลูกค้าขององค์กรนั้นสามารถมั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ซึ่งสอดคล้องต่อความต้องการและคาดหวัง รวมทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฏหมายที่เกี่ยวข้อ

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปการพิจารณาซื้อระบบกล้องวงจรปิด

เลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี ในราคามาตรฐานพิจารณาชนิด ประเภทของสายที่ใช้ในการติดตั้งอย่างละเอียด ซื้อสินค้า จากบริษัทที่น่าเชื่อถือเป็นมืออาชีพ เป็นผู้นำเข้าหรือตัวแทนของผู้นำเข้าที่ได้รับมาตรฐานรับรอง อาทิ บริษัทที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 รวมถึงอายุการรับประกันสินค้าถ้านาน จะเป็นหลักประกันในการให้บริการ
สุดท้ายนี้ ควรไปชมการสาธิตสินค้าที่บริษัทผู้ขาย เพื่อจะได้เห็นคุณภาพสินค้าด้วยตาของเราเอง อีกทั้งจะได้เห็น กิจการของผู้ขายว่ามีความมั่นคง และมีบุคคลากร พร้อมที่จะให้บริการแก่ท่านหรือไม่ เพราะว่าเราควรจะใช้กล้องวงจรปิด ให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี

สรุปการพิจารณาซื้อระบบกล้องวงจรปิด

เลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี ในราคามาตรฐานพิจารณาชนิด ประเภทของสายที่ใช้ในการติดตั้งอย่างละเอียด ซื้อสินค้า จากบริษัทที่น่าเชื่อถือเป็นมืออาชีพ เป็นผู้นำเข้าหรือตัวแทนของผู้นำเข้าที่ได้รับมาตรฐานรับรอง อาทิ บริษัทที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 รวมถึงอายุการรับประกันสินค้าถ้านาน จะเป็นหลักประกันในการให้บริการ
สุดท้ายนี้ ควรไปชมการสาธิตสินค้าที่บริษัทผู้ขาย เพื่อจะได้เห็นคุณภาพสินค้าด้วยตาของเราเอง อีกทั้งจะได้เห็น กิจการของผู้ขายว่ามีความมั่นคง และมีบุคคลากร พร้อมที่จะให้บริการแก่ท่านหรือไม่ เพราะว่าเราควรจะใช้กล้องวงจรปิด ให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี

สรุปการพิจารณาซื้อระบบกล้องวงจรปิด

เลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี ในราคามาตรฐานพิจารณาชนิด ประเภทของสายที่ใช้ในการติดตั้งอย่างละเอียด ซื้อสินค้า จากบริษัทที่น่าเชื่อถือเป็นมืออาชีพ เป็นผู้นำเข้าหรือตัวแทนของผู้นำเข้าที่ได้รับมาตรฐานรับรอง อาทิ บริษัทที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2000 รวมถึงอายุการรับประกันสินค้าถ้านาน จะเป็นหลักประกันในการให้บริการ
สุดท้ายนี้ ควรไปชมการสาธิตสินค้าที่บริษัทผู้ขาย เพื่อจะได้เห็นคุณภาพสินค้าด้วยตาของเราเอง อีกทั้งจะได้เห็น กิจการของผู้ขายว่ามีความมั่นคง และมีบุคคลากร พร้อมที่จะให้บริการแก่ท่านหรือไม่ เพราะว่าเราควรจะใช้กล้องวงจรปิด ให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี

การพิจารณาซื้อระบบกล้องวงจรปิด

1.ประเทศผู้ผลิต
ปัจจุบันสินค้าที่ผลิตในประเทศไต้หวัน เป็นที่ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและราคา ทำให้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่สินค้าจากประเทศจีน ที่บริษัทต่างๆ นำเข้ามาขายจะเน้นราคาถูก ทำให้สินค้าไม่มีคุณภาพอายุการใช้งานสั้นมาก 3 เดือน - 2 ปี ทางที่ดี เน้นสินค้าที่ผลิตจากประเทศไต้หวันเป็นหลัก จะดีกว่า

วิธีเพิ่มพื้นที่บันทึกภาพได้นานขึ้น

หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของกล้องวงจรปิดคือ การบันทึกภาพเหตุการณ์ย้อนหลังเอาไว้ เพื่อสามารถเปิดดูได้กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันใดๆ ขึ้น และภาพดังกล่าวจะได้ใช้เป็นหลักฐานได้ ซึ่งการที่จะเก็บบันทึกภาพเหตุการณ์ย้อนหลังได้นานมากน้อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฮาร์ดดิสก์นั่นเอง
ผมไม่กล่าวรวมถึงการสำรองข้อมูลออกมาแล้วนะครับ ซึ่งตามบริษัทห้างร้านใหญ่ๆ จะมีการทำสำรองข้อมูลออกมาเป็นระยะๆ เก็บไว้ในสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น ไรท์ออกมาเก็บในแผ่น CD หรือ DVD หรือ Handy drive เป็นต้น เพราะในกรณีนี้ทุกท่านสามารถสำรองข้อมูลเอาไว้ได้นานเท่าที่ต้องการครับ
แต่ที่ผมจะเน้นต่อไปนี้คือเรื่องของการสำรองข้อมูลที่ยังอยู่ในระบบ เพราะเครื่องบันทึกภาพบางรุ่นที่เป็น StandAlone นั้นไม่มีเครื่องไรท์แผ่น CD หรือ DVD และไม่มี USB port ในตัว การจะเอาข้อมูลออกมาได้ก็ต้องนำเครื่องไปต่อสาย LAN แล้วต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วก็ลงโปรแกรมเพื่อดึงภาพออกมาไรท์ใส่แผ่นอีกที กระบวนการเหล่านี้อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่ช่ำชองด้านเทคนิค แต่อาจเป็นเรื่องยุ่งยากใหญ่โตสำหรับผู้ใช้ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เลย
มีบางกรณีครับที่ผู้ใช้ตั้งค่าระบบเอาไว้ให้ rewrite หรืออัดทับของเดิมได้ทันทีเมื่อฮาร์ดดิสก์เต็ม และหลายครั้งที่เมื่อต้องการดูภาพย้อนหลังแต่กลับพบว่าถูกอัดทับไปแล้ว เพราะฮาร์ดดิสก์เต็ม เนื่องจากพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ไม่มากพอ บางท่านไม่เข้าใจก็จะโกรธเคืองกล้องวงจรปิดเอา หาว่าซื้อมาแล้วไม่มีประโยชน์ไปซะงั้นโดยลืมนึกไปว่าอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือเท่านั้น แต่คนต่างหากที่จะนำเครื่องมือนี้มาใช้ยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ข้อมูลเกี่ยวกับ MJPEG MPEG4 และ JPEG2000

ผมไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีของ DVR นะครับที่ว่า บันทึกแบบMJPEG MPEG4 และ แบบ JPEG2000 หรือ J2000 เป็นอย่างไรครับ และมีข้อดีข้อด้อยต่างกันอย่างไรครับ เวลาเลือกใช้ควรจะเลือกแบบไหนดีครับ รบกวนท่านที่ทราบช่วยทำให้กระจ่างหน่ยครับ งง จริงๆ

การเดินสายสัญญาณ....สำคัณไฉน

การเดินสายสัญญาณ....สำคัณไฉน
1.รางเดินสาย
2.ท่อพลาสติกขาวร้อยสาย
3.ตอกกิ๊ฟ (ถ้าลุกค้าเน้นประหยัด)
ภายนอก
1.สายไฟใช้สาย VCT 2x2.5 พันไฟกับสลิง
2.ขุดถนน ลาดยาง,คอนกรีต (หมู่บ้านจัดสรรหรู ๆๆๆ)

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การป้องกันรถหาย

การป้องกันรถหาย

การป้องกันรถหาย

7.การใช้เทคโนโลยี

ทำให้บ้านของท่านเหมือนมีคนอยู่ตลอดเวลา เวลาออกไปข้างนอกในตอนกลางคืน ให้เปิดไฟและวิทยุทิ้งไว้ อย่าเปิดไฟดวงเล็กตามทางเดิน หรือมุมห้อง เนื่องจากการกระทำเช่นนี้ จะแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครอยู่บ้าน หรี่เสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์ให้ต่ำสุด ถ้าขโมยได้ยินเสียงโทรศัพท์ดัง แล้วไม่มีคนรับสาย เขาจะรู้ได้ทันทีว่าไม่มีคนอยู่บ้าน ถ้าท่านไม่อยู่บ้านในตอนกลางวัน หรือไปต่างจังหวัด ท่านควรจะใช้เครื่อง เปิด-ปิดอัตโนมัติ เพื่อเปิด- ปิดไฟและวิทยุตามเวลาที่กำหนด

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

“เปรียบมวย” เครื่องบันทึกภาพแบบต่างๆในระบบ กล้องวงจรปิด

หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ลังเลใจที่จะเลือกใช้ระบบการบันทึกของกล้องวงจรปิด ว่าจะใช้แบบใดถึงจะตรงใจท่าน อันนี้ก็ต้องถามความประสงค์ของท่านเองล่ะครับว่า ถนัดแบบไหน ใช้งานเพื่อจุดประสงค์อย่างไร “กันขโมยดอทคอม” ขอนำเอาข้อคิดมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้ท่านมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้นกันดีไหมครับ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า ในระบบกล้องวงจรปิดจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ 4 อย่างก็คือ

1. ตัวกล้อง (Camera) ที่มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่จุดประสงค์การใช้งานของท่าน ตัวอย่างเช่น กล้องมาตรฐาน (แบบตัวยาว) กล้องโดม (ทรงกลมตัดครึ่ง) กล้องกันน้ำ กล้องอินฟราเรด กล้องไร้สาย กล้องสปีดโดม กล้องซ่อนขนาดเล็กหรือเลนส์รูเข็ม ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นเสมือนดวงตาที่จะมองภาพในมุมที่เราต้องการเพื่อส่งมายังศูนย์กลางหรืออุปกรณ์รวมและจัดการสัญญาณภาพ

ตัวอย่างกล้อง



2. อุปกรณ์รวมและจัดการสัญญาณภาพ (Video Processor) เช่น สวิตเชอร์ ควอด มัลติเพลกเซอร์ Capture Card ฯลฯ ทำหน้าที่เป็นตัวศูนย์กลางที่รวมสัญญาณภาพจากกล้องทุกตัว เพื่อส่งสัญญาณภาพไปยังจอมอนิเตอร์ แสดงภาพสด (Display Live View) และส่งภาพไปยังอุปกรณ์บันทึก

3. อุปกรณ์บันทึกภาพ (Recorder) ทำหน้าที่รับภาพจากอุปกรณ์จัดการสัญญาณภาพ เพื่อเขียนข้อมูลลงในสื่อบันทึก เช่น เครื่องบันทึกเทป ฮาร์ดดิสก์

4. จอมอนิเตอร์ (Monitor) จะใช้เป็นทีวีธรรมดา หรือจอมอนิเตอร์ที่ออกแบบมาใช้กับระบบโดยเฉพาะก็ได้



ระบบการบันทึกแบบบันทึกเทป
ในกรณีที่ท่านต้องการใช้งานกล้องเพียงตัวเดียว อุปกรณ์ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมี Video Processor ก็ได้ คือต่อสัญญาณจากกล้องโดยตรงเข้าสู่เครื่องบันทึกเทป และจากเครื่องบันทึกเทปสู่มอนิเตอร์เลยก็ได้ แต่หากใช้งานหลายกล้อง ระบบแบบนี้จะมีอุปกรณ์ที่แยกชิ้นกันทั้ง 4 ส่วน ดังภาพ การบันทึกแบบนี้หากต้องการเก็บหลักฐานการบันทึกไว้นานๆ จำเป็นจะต้องมีม้วนเทปไว้จำนวนมากเพื่อเปลี่ยนตามระยะเวลาที่เนื้อเทปหมด


ระบบการบันทึกด้วยเครื่องบันทึกภาพดิจิตอล (Stand-alone Digital Video Recorder – DVR)
เครื่องบันทึกชนิดนี้จะรวมส่วนของ Video Processor (2) และ ส่วนบันทึก Recorder (3) ไว้ในเครื่องเดียวกัน โดยมากจะเป็นแบบมัลติเพลกเซอร์ มีจำนวนช่องสัญญาณ 4, 9 และ 16 ช่อง ตามความต้องการของผู้ใช้ และบันทึกภาพลงสู่ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งชนิดและขนาดของฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ IDE-ATA ที่มีขายอยู่ตามร้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป ยิ่งขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์มีมาก ก็จะยิ่งสามารถบันทึกได้ยาวนานยิ่งขึ้น การดูภาพจากเครื่องก็เพียงแค่ต่อมอนิเตอร์หรือทีวีเข้ากับตัวเครื่องเท่านั้น



ระบบการบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Based Advance DVR)
ด้วยความสามารถของระบบปฏิบัติการ Windows และการที่ใช้ซอฟท์แวร์เป็นพื้นฐาน ทำให้ระบบการบันทึกด้วยคอมพิวเตอร์มีความหลากหลายของลูกเล่นและเทคนิคการใช้งานต่างๆ อีกทั้งยังรองรับการพัฒนาขีดความสามารถในอนาคต เรียกว่ารอวันโตตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน เพราะปัจจุบันมนุษย์และสังคมได้รับผลบุญ (รวมทั้งผลกรรม) จากการเติบโตของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนแปลงไป ระบบนี้จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับท่านที่มีขีดความสามารถในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์สูงอยู่แล้ว รวมถึงผู้ที่ต้องการพึ่งพาประโยชน์จากขีดความสามารถของมัน ซึ่งมีให้มากกว่าระบบอื่นๆ




หมัดต่อหมัด เปรียบเทียบแต่ละระบบ

บันทึกเทป
DVR (Stand Alone)
Advance DVR / Capture Card + Computer
1. สื่อที่ใช้เก็บบันทึก
ม้วนเทป E-180, E-240(ต้องเก็บม้วนเทปเป็นจำนวนมาก)
Hard Disk 80 – 500 GB ขึ้นอยู่กับรุ่น
Hard Disk 80 – 1000 GB ขึ้นอยู่กับ Main board
2. ระยะเวลาสูงสุดที่สามารถบันทึกได้
12 / 24 / 168 ชั่วโมง แล้วแต่รุ่นของเครื่องบันทึก
เทียบกับ PC Based DVR จะบันทึกได้สั้นกว่า (สำหรับเครื่องบันทึกแบบ M-JPEG) และใกล้เคียงกัน (สำหรับเครื่องบันทึกแบบ MPEG4 เมื่อเทียบ Frame rate เท่าๆ กัน
ยาวนานที่สุดเมื่อเลือกใช้ความต่อเนื่อง (frame rate) เท่าๆกันกับแบบบันทึกเทปและ DVR (Stand Alone)
3. ความละเอียดของภาพที่บันทึก
ความละเอียดใกล้เคียงกับภาพจริง ขึ้นกับอุปกรณ์รวมจัดการสัญญาณภาพ
โดยทั่วไป 720 x 576 pixels
320 x 240, 384 x 288, 640 x 480, 768 x 576ขึ้นอยู่กับรุ่น
4. ความต่อเนื่องของภาพ
12 ชั่วโมง = 8 fps
24 ชั่วโมง = 3 fps168 ชั่วโมง = 0.5 fps
Max: 25 fps (KP-204)50 fps (FK-5xx)
100-400 fps (FK-8xx)
Max 15 – 400 FPSขึ้นอยู่กับรุ่น
5. ความสามารถในการต่อ Network
ทำไม่ได้
ทำได้ในรุ่น EDSR, FK-504CFN, FK-8xx โดยผ่าน LAN แต่อัตราการส่งผ่านข้อมูลต่ำกว่าคอมพิวเตอร์
ทำได้หลากหลายทั้ง LAN, Internet, ISDN, PSTN โดยอาศัยคุณสมบัติการเป็นคอมพิวเตอร์
6. การบันทึกเมื่อมีความเคลื่อนไหวของภาพ
ทำไม่ได้
ทำได้
ทำได้โดยมีประสิทธิภาพดีกว่า DVR คือสามารถกำหนดความไวในการตรวจจับได้และกำหนดพื้นที่ที่ต้องการตรวจจับบนภาพได้สะดวก
7. การค้นดูภาพที่เก็บบันทึก
ต้องค้นหาจากม้วนเทปของวันที่บันทึกไว้โดยวิธีกรอภาพและดูเวลาที่อยู่บนหน้าจอ โดยต้องหยุดการบันทึกเอาไว้ชั่วคราว
เรียกดูโดยระบุวันที่และเวลาที่ต้องการค้นหาภาพได้ โดยต้องหยุดการบันทึกเอาไว้ชั่วคราว
เรียกดูโดยระบุวันที่และค้นหาจากเวลาของแต่ละไฟล์ที่ระบุเรียงเอาไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการบันทึก
8. ความชัดเจนเมื่อเล่นภาพเร็วเพื่อค้นหาภาพที่บันทึกไว้
มีเส้นรบกวนขณะค้นหาภาพแบบรวดเร็ว
ไม่มีเส้นรบกวนแม้ขณะเล่นค้นหาภาพแบบรวดเร็ว สามารถเพิ่มหรือลดความเร็วได้ 32 เท่า (FK-77x) และ 600 เท่า (EDSR-Series)
ไม่มีเส้นรบกวนแม้ขณะเล่นค้นหาภาพแบบรวดเร็ว สามารถเพิ่มหรือลดความเร็วได้ (มากน้อยขึ้นอยู่กับรุ่น)
9. ความคุ้นเคยของผู้ใช้งาน
ใช้งานมานาน เป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้งานโดยทั่วไป
ลักษณะการใช้งานคล้ายกันกับระบบเทปเดิม เป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้งานทั่วไป
ผู้ใช้งานควรมีความรู้พื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
10. การถ่ายโอนข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
ต้องเก็บด้วยม้วนเทปและเล่นกับเครื่องเล่นที่มีอัตราการบันทึกเดียวกันเท่านั้น
สามารถสำรองภาพเหตุการณ์บางช่วงที่สำคัญเข้ากับเครื่อง PC ได้โดยผ่านทางสาย USB หรือใช้ CF Card
สามารถส่งออกข้อมูลลงสื่อความจุเช่น CD, Flash Drive ได้โดยเป็นไฟล์ .avi และสามารถหยุดเฟรมภาพบันทึกที่กำลังเล่นอยู่เพื่อเก็บเป็นภาพ .jpg หรือ พิมพ์ภาพได้
11. การเริ่มบันทึกเองโดยอัตโนมัติหลังสิ้นสุดไฟดับ
ทำได้ (เฉพาะรุ่น 12 ชั่วโมงไม่มีฟังก์ชั่นตั้งเวลา ทำไม่ได้)
ทำได้
ทำได้
12. ระดับราคา
แพงที่สุดภายใต้ลักษณะการใช้งานเดียวกันกับ DVR และ Computer (12,400 – 33,000 สำหรับ 4 channels)
10,000 – 29,000 สำหรับ 4 Channels
18,000 – 47,000 สำหรับ 4 Channels

ที่กล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการเปรียบเทียบเท่านั้นนะครับ ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Advance DVR / Capture Card + PC ซึ่งมีให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการและงบประมาณที่มี ก็หวังว่าคงได้แนวทางในการตัดสินใจเลือกแบบใดแบบหนึ่งกันแล้วนะครับ ขอให้โชคดีทุจริตชนไม่มาเข้าใกล้นะครับ

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สายสัญญาณ และงานระบบไฟฟ้ากำลัง

การติดตั้ง และวางระบบสายสัญญาน มีให้เลือกใช้หลายแบบ หลายราคา ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย และการเลือกใช้วัสดุ ระบบไฟฟ้า สายสัญญาณ การวางเครือข่ายสายสัญญาน เป็นงานฝีมือ ซึ่งมักจะถูกมองข้าม และลืมเผื่องบประมาณไว้ แต่ว่าผลงานจะออกมาใช้ได้ดี หรือ ติดๆ ดับๆ ก็อยู่ที่ส่วนนี้ เวลาส่วนใหญ่ก็ใช้เพื่องานนี้ และอาจจะใช้งบประมาณ มากกว่าครึ่งหนึ่ง ของมูลค่ารวมทั้งระบบถ้าทำไว้ไม่ดี แล้วแก้ยาก อายุการใช้งานสั้น เหมือนคนขี้โรค การสร้างระบบ CCTV เป็นการลงทุนระยะยาว เหมือน Infrastructure อื่นๆ ที่ต้องคิดเผื่อการใช้งานระยะยาวอย่างจริงจัง คุ้มค่าการลงทุน
มีทางเลือกหลายแบบ เรียงตามราคา (และคุณภาพสัญญาณ) ดังต่อไปนี้คือ
ใช้สาย RG-11 มีตั้งแต่หุ้มทองแดง จนถึง หุ้มอลูมิเนียมรองลงมาคือ ใช้สาย RG-6 ก็มีหลายเกรด จาก 95% จนถึง 60%รองลงมาอีกคือ ใช้สาย CAT5/CAT6 แทนสาย สัญญาณสุดท้ายคือ ไร้สาย ยังไม่มีกฏหมายรองรับ และไม่แน่นอน ไม่เต็มร้อย
ระบบสายนำสัญญาณและสายไฟฟ้า ควรใช้วัสดุ เกรด A เพราะจะไม่ทำให้สัญญาน ตกหาย หรือถูกสิ่งรบกวน (Noise) จนได้คุณภาพไม่เต็มร้อย ควรใช้ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา หุ้ม 144 เส้น 95 % (สาย TV ใช้ประมาณ 60%) การติดตั้งไฟฟ้ากำลังไปเลี้ยงหล้อง ควรใช้สายไฟฟ้าอย่างดี เดินไปเลี้ยงแต่ละกล้อง ไม่ไปแอบพ่วงดึงไฟจากระบบอื่นเพื่อต้องการประหยัด เพราะจะเกิดปัญหาระบบไฟฟ้าตามมาทีหลังเยอะมาก โดยเฉพาะการใช้ผู้รับเหมารายย่อยทำไฟ เมื่อเกิดปัญหาเรื่องรับประกัน ตอนระบบขัดข้อง หาเจ้าภาพไม่ได้ ลูกค้าเดือดร้อน
การติดตั้ง สำคัญมาก(ที่สุด) เป็นงานฝีมือล้วนๆ ที่ต้องใช้สำนึกรับผิดชอบ ต้องใช้ทีมช่างที่ผ่านการคัดเลือกและฝึกอบรมมาอย่างดีโดยเฉพาะ มีความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญเฉพาะด้าน พร้อมที่จะคอยแนะนำวิธีการใช้งานของระบบ และรับประกันผลงานทุกชิ้นงาน โดยมีผู้บริหารระดับสูง คอยตรวจสอบการติดตั้งทุกระยะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และได้มาตรฐานวิศวกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การบันทึกภาพ ของกล้อง IP CAMERA สามารถทำได้หรือไม่

การบันทึกภาพ ของกล้อง IP CAMERA สามารถทำได้หรือไม่ หากบันทึกภาพได้ มีวิธีการทำได้กี่แบบ อย่างไรบ้าง /ตุ๊กตา

แนวโน้ม CCTV เป็นยังไงครับ

การเลือกใช้เลนส์

การเลือกใช้เลนส์ต้องดูอย่างงัยครับ

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความยาวโฟกัสแบ่งออกได้กี่แบบครับ

cctv คืออะไรครับ

กล้องวงจรปิด (CCTV) ย่อมาจาก Closed-circuit television ซึ่งจะทำหน้าที่รับภาพที่ปรากฏอยู่ และทำการแปลงเป็นสัญญาณ และทำการส่งสัญญาณดังกล่าวไปในจุดที่ต้องการในลักษณะ point to point ซึ่งตัวรับภาพของกล้องวงจรปิดนั้น แบ่งได้เป็น 2 แบบ1. CMOS (ซีมอส) ซึ่งจะใช้กับกล้องวงจรปิดที่มีราคาถูก คุณภาพต่ำ2. CCD (ซีซีดี) จะใช้กับกล้องวงจรปิดที่มีคุณภาพปานกลาง-สูง ซึ่งในกล้องวงจรปิดในปัจจุบันนี้ได้เลือกใช้ CCD Sensor ทั้งหมดแล้ว เนื่องจากราคาของ CCDSensor ได้ลดลงมากแล้ว ซึ่งหากแบ่งตามรูปทรงการใช้งานนั้น จะสามารถแบ่งได้หลัก ๆ ดังนี้1.กล้องวงจรปิดแบบโดม (Dome CCTV) ซึ่งก็มีทั้งแบบ indoor , outdoor ซึ่งเหมาะสมติดตั้งในจุดที่ต้องการความเรียบร้อยและสวยงาม เนื่องจากจะดูกลมกลืน ไม่เกะกะสายตา

กล้องวงจรปิดแบบโดม
2.กล้องวงจรปิดแบบ C/CS Mount (C/CS Mount CCTV) ซึ่งมีแบบ indoor เท่านั้น โดยสามารถติดตั้งในกล่องกันฝน เพื่อใช้งาน outdoorได้เช่นกัน และกล้องวงจรปิดชนิดนี้สามารถเปลี่ยน Lens เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลากหลาย เช่น เลนส์มุนกว้าง , มุมแคบ , ชนิดปรับลดแสงอัตโนมัติ(auto iris)
กล้องวงจรปิดแบบ C/CS Mont
3.กล้องวงจรปิดแบบอินฟราเรด (infrared CCTV) ซึ่งมีทั้งแบบ indoor , outdoor โดยจะทำในหลายรูปแบบ เช่น infrared dome CCTV , Built-in Lens infrared CCTV โดยกล้องวงจรปิดแบบนี้มีจุดเด่นที่สามารถรับภาพได้แม้ในที่มืดสนิท (0 Lux)

กล้องวงจรปิดอินฟาเรดทั้งแบบ Dome และ Built - in Lens

podter

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กล้อง Analog จำเป็นต้องบันทึกลง DVR อย่างเดียวหรือไม่

ต้องการติดกล้องวงจรปิด แต่ไม่ต้องการใช้ DVR เป็นเครื่องบันทึก
แต่จะบันทึกลง hand disk คอมพิวเตอร์แทนทำได้หรือไม่
หมายเหตุ : กล้องที่ใช้เป็น Analog ไม่ใช่ IP Camera

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อยากให้แนะนำกล้อง ir

เรามีความสนใจกล้อง ir อยากให้แนะนำกล้อง ir ที่ทนต่อความร้อนและจะไม่เสียง่าย ว่ามีรุ่นไหนบ้าง

กล้องรับภาพ (CAMERA)

กล้องรับภาพ (CAMERA)
โดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งง่ายๆ ออกเป็นสองชนิดคือ กล้องสี และกล้องขาวดำซึ่งขึ้นอยู่กับ ความต้องการ ของผู้ใช้และสถานที่ในการ ติดตั้งซึ่งต้องประกอบไปด้วย ลักษณะ ของการใช้งานจริง ยกตัวอย่างเช่น
กล้องสี ควรใช้งานกับสถานที่ที่มีแสงสม่ำเสมอ เช่น ซูปเปอร์มาเก็ต, มินิมาร์ท, ร้านทอง ฯลฯ เป็นต้น จากกลุ่มที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้นมีความ เหมาะสมกล่าวคือกล้องสีสามารถแยกแยะรายละเอียดหรือสีของสิ่งของ ได้ดี และในสถานที่ที่ยกตัวอย่างดังกล่าวก็มีการใช้แสงสว่างค่อนข้างมาก และสม่ำเสมอภาพที่มา ปรากฎบนหน้าจอมอนิเตอร์ ก็จะมีความชัดเจน
กล้องขาวดำ กล้องชนิดนี้เป็นกล้องที่ใช้แสงในการรับภาพต่ำมาก (LUX) เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้งานในด้านการรักษาความปลอดภัยเนื่องจาก สามารถดูในเวลากลางคืนได้ ดีกว่ากล้องสีเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ในอาคาร, คลังสินค้า, โรงงาน, กระบวนการผลิต, พื้นที่อันตราย, เคาเตอร์เก็บเงิน, ลานจอดรถ, ปั๊มน้ำมัน หรือสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์ดูแลรักษาความปลอดภัย

มารู้จักพื้นฐานการเกิดรังสีกันเถอะ(ต่อ)

รังสีแอลฟา (alpha rays)


อนุภาคแอลฟาประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค
รังสีชนิดอนุภาคที่ก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้สูงแต่มีการทะลุทะลวงต่ำ โดยเป็นกระแสของอนุภาคแอลฟา (?) ซึ่งเป็นอนุภาคประจุบวกที่ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคและนิวตรอน 2 อนุภาค เทียบเท่ากับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 (He2+).มีมวล 6.644656?10-27 กิโลกรัม ในธรรมชาติรังสีแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม หรือทอเรียม ที่เรียกว่าการสลายให้อนุภาคแอลฟา (alpha decay หรือ alpha disintegration) ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่ออะตอมชนิดนั้น ๆ มีอัตราส่วนของนิวตรอนต่อโปรตอนในนิวเคลียสต่ำ




พอโลเนียม-210 ซึ่งไม่เสถียร มีอัตราส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนเท่ากับ 1.5 เมื่อสลายให้อนุภาคแอลฟาและแปรธาตุเป็นตะกั่ว-206 ซึ่งเสถียร มีอัตราส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนเพิ่มขึ้นเป็น 1.51




อนุภาคแอลฟาที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดใหญ่จะมีพลังงานสูงอยู่ในช่วง 3 ถึง 7 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรังสีชนิดอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาจากการสลายของสารกัมมันตรังสีด้วยกันแล้ว รังสีแอลฟามีน้ำหนักมากกว่า จึงเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า ถ้าเฉลี่ยว่าเป็นอนุภาคแอลฟาที่มีพลังงาน 5 MeV ก็จะมีความเร็ว 15,000 กิโลเมตรต่อวินาที

รังสีแอลฟามีการทะลุทะลวงต่ำที่สุด



การที่อนุภาคแอลฟามีประจุและมีมวลมากทำให้ถูกสสารดูดกลืนได้ง่าย จึงมีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ โดยจะผ่านไปในอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้
ดังนั้นรังสีแอลฟาจะไม่มีอันตรายเมื่ออยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์ แต่หากหากเข้าไปอยู่ในร่างกาย อาจจะโดยการสูดหายใจหรือกลืนสารที่เป็นต้นกำเนิดรังสีแอลฟาเข้าไป การมีประจุและมีมวลมากกว่ากลับเป็นอันตรายต่อเซลล์ร่างกายมากกว่ารังสีชนิดอื่น







รังสีบีตา (beta rays)
รังสีที่เป็นอนุภาคพลังงานและความเร็วสูง อาจจะเป็นอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ (?-) หรือโพซิตรอนซึ่งเป็นปฏิยานุภาค (antiparticle) ของอิเล็กตรอนและมีประจุบวก (?+) เรียกรวม ๆ กันว่าอนุภาคบีตา ในธรรมชาติรังสีบีตาถูกปล่อยออกจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสีบางชนิดเช่นโพแทสเซียม-40 ขณะเกิดการสลายให้อนุภาคบีตา (beta decay) พลังงานของรังสีบีตาแตกต่างกันเป็นช่วงกว้างแล้วแต่ว่าถูกปลดปล่อยออกมาจากนิวไคลด์ชนิดใด จึงอาจผ่านไปในอากาศได้หลายเซนติเมตรหรือหลายเมตรก็ได้ สามารถผ่านทะลุผิวหนังหรือเนื้อเยื่อได้ 2-3 มิลลิเมตรจึงใช้เพียงฝ่ามือก็กั้นรังสีบีตาไว้ได้ หรือจะใช้แผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆ ก็กั้นรังสีบีตาได้
อนุภาคบีตามีมวลเพียงประมาณ 1 ใน 2,000 ของมวลอนุภาคโปรตอน และมีประจุ +1 จึงทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ต่ำกว่าอนุภาคแอลฟามาก เพราะอนุภาคแอลฟามีประจุมากกว่าคือ +2 และยังมีมวลมากกว่าอิเล็กตรอนมากด้วย

การสลายให้ ?- เกิดกับนิวเคลียสที่มีนิวตรอนมากเกินไป กล่าวคือมีอัตราส่วนของนิวตรอนต่อโปรตอนสูงมาก เพื่อให้มีเสถียรภาพมากขึ้นนิวตรอนส่วนเกินจะแปรไปเป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน โดยโปรตอนยังคงอยู่ในนิวเคลียส แต่ปล่อยอิเล็กตรอนพลังงานสูงออกมา และมักปล่อยรังสีแกมมาออกมาด้วย การสลายแบบนี้ทำให้นิวไคลด์ที่สลายมีโปรตอนเพิ่มขึ้น จึงเกิดการแปรธาตุไปเป็นธาตุที่มีเลขเชิงอะตอมสูงขึ้นด้วย เช่น เทคนีเชียมซึ่งมีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 43 แปรธาตุเป็นรูทีเนียมที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 44
มีการใช้รังสีบีตาจากสตรอนเชียม-90 สำหรับรักษามะเร็งที่ตาและกระดูกหรือใช้เป็นตัวแกะรอย (tracer) นอกจากนี้ยังมีการใช้รังสีบีตาสำหรับควบคุมความหนาในการผลิตกระดาษ



วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กล้องCCTVและDVRเป็นภาพขาวดำ

ปัจจุบันนี้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในตลาดล้วนแต่เป็นกล้องสีเกือบทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและราคาที่ถูกลง แต่ก็มีบางครั้งที่เมื่อติดตั้งกล้องแล้ว เอ๊ะ ทำไมภาพที่ออกมาดันเป็นขาว-ดำ?? คงเคยมีบ้างใช่มั๊ยครับไม่มากก็น้อยที่เกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น และคำตอบส่วนใหญ่เลยก็คือ เราตั้งระบบสัญญาณวิดีโอผิดนั่นเองครับ
ถ้าเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นให้ลองพิจารณาดูที่ 2 อันดับแรกเลยครับ หนึ่ง คือที่เครื่องบันทึกภาพ กรณีที่ใช้เครื่องบันทึกภาพแบบ Stand Alone จะมีเมนูให้กำหนดค่ามาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสี (Television Broadcast Standard) โดยปกติบ้านเราจะใช้ระบบ PAL ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดค่าตรงนี้ให้เป็น PAL ด้วย เพราะบางทีเครื่องที่ซื้อมาอาจตั้งค่าดั้งเดิมเอาไว้เป็น NTSC ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมาเป็นขาวดำ หรือบางกรณีอาจจะไม่มีภาพออกมาเลยก็เป็นได้ครับ
ถัดมาให้ดูที่ตัวเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์หรือ จอทีวีครับ ว่าตั้งไว้เป็น PAL หรือ NTSC ซึ่งก็ต้องเลือกเป็น PAL เช่นเดียวกันครับ ไม่เช่นนั้นผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้ได้ภาพไม่มีสีสัน ทั้งๆ ที่อุตส่าซื้อกล้องสีมานั่นแหละครับ
ไหนๆ ก็พูดมาถึงเรื่องสัญญาณวิดีโอแล้วผมก็จะขอเพิ่มเติมครับว่า มาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสีที่ว่าเป็น PAL หรือ NTSC นี้คืออะไร
มาตรฐานดังกล่าวที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 แบบ คือ NTSC, PAL และ SECAM แล้วแต่ว่าประเทศไหนจะใช้มาตรฐานใด ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบ PAL ครับ ทีนี้เรามาทำความรู้จักกันทีละอันนะครับ
NTSC ย่อมาจาก The National Television Standard Committee เป็นมาตรฐานแรกของโลก พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 โดย FCC (Federal Communications Commission) หน่วยงานของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานนี้จะมีจำนวนเส้นทีวีแนวนอน (TV Lines) 525 เส้น และแนวตั้ง 60 เส้น และมีจำนวนภาพ 30 ภาพต่อวินาที ระบบนี้มีชื่อเล่นๆ อีกอย่างครับว่า Never Twice the Same Color เพราะระบบนี้ให้สีที่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ อันนี้เค้าแซวกันขำๆ นะครับ ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา เป็นต้น
SECAM ย่อมาจาก Syst่me Electronique Pour Couleur Avec Mmoire พัฒนาขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1967 มาตรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และแนวตั้ง 50 เส้น มีการส่งสัญญาณหลายแบบ แต่ละแบบจะส่งสัญญาณภาพและเสียงแยกแบนด์วิธกัน เช่น แบบ B,D ส่ง VHF แบบ G,H,K ส่ง UHF แบบ I,N,M,K1,L ส่งทั้ง VHF/UHF และแต่ละแบบจะใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกัน ระบบนี้ก็มีคำเต็มที่แซวกันเล่นๆ เช่นกันครับว่า Something Essentially Contrary to the American Method หรือบางทีก็ SEcond Colour Always Magenta อาจเพราะให้สีออกม่วงๆ ก็ได้ครับ มาตรฐานนี้ใช้แถบความถี่กว้างมาก ทำให้มีช่องไม่กี่ช่อง จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม ที่ใช้อยู่ก็มีประเทศฝรั่งเศส ประเทศแถบรัสเซีย หรือ ประเทศแถบผู้ก่อการร้าย และในแอฟริกา เป็นต้น
PAL ย่อมาจาก Phase Alternating Line พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ Walter Bruch ในปี 1963 แต่เริ่มเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1967 มาจรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และ 50 เส้นทางแนวตั้ง ความถี่จำนวนภาพ 25 ภาพต่อวินาที มีการแยกแบนด์วิทระหว่างสัญญาณภาพและเสียง ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศในแถบยุโรป เป็นต้น ครับ และสุดท้ายมาตรฐานนี้ก็มีชื่อเล่นๆ ว่า Perfect At Last
หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อมาตรฐาน SECAM นัก ส่วน NTSC กับ PAL นั้น จะเห็นว่า PAL จะให้รายละเอียดจำนวนเส้นดีกว่าจึงให้ภาพที่คมชัดกว่า ขณะที่ให้จำนวนภาพต่อวินาทีน้อยกว่า ดังนั้นการบันทึกภาพในระบบ PAL จะใช้สื่อบันทึก เช่น ม้วนเทป น้อยกว่าในเวลาที่เท่ากัน
ตารางแสดงประเทศที่ใช้มาตรฐานสัญญาณต่างๆ

Vloss คืออะไร

Vloss คือไม่มีสัญญาณภาพครับ ย่อมาจาก Video Loss คือสัญญาณภาพหายลองทำตามนี้นะครับถ้ามีกล้องอยู่อีกตัวที่ยังดีอยู่มีสัญญาณภาพลองเอามาต่อเข้าที่ช่องนี้ดูวิธีเช็คว่ากล้องเสียหรือไม่ให้นำกล้องมาต่อเข้าทีวีตรงๆเลยครับโดยต่อผ่านช่อง AV ของทีวี ทดสอบว่ามีภาพหรือไม่ และลองดูว่าไฟจ่ายไปที่ตัวกล้องหรือเปล่า

มารู้จักพื้นฐานการเกิดรังสีกันเถอะ

อนุภาค
คำว่า อนุภาค (particle) มาจาภาษาละตินซึ่งหมายถึง ส่วนเล็ก ๆ (little part) ดังนั้นอนุภาคในความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กมากที่คงทำให้นึกถึงฝุ่นผงที่ตามองเห็นได้ แต่ในทางวิทยาศาสตร์มองว่าอนุภาคเป็นส่วนที่เล็กมากที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสสาร เช่น ผลึก โมเลกุล อะตอม ซึ่งแม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็อาจมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรืออุปกรณ์วิเคราะห์ภาพชนิดต่าง ๆ และที่ยังเล็กลงไปกว่านั้นอีก ซึ่งอนุภาคบางชนิด ก็ยังไม่มีเครื่องมือชนิดใดจับภาพได้โดยตรง เพียงแต่พิสูจน์โดยทางอ้อมได้ว่ามีอยู่จริง

เปรียบเทียบขนาดของอนุภาคที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ (หน่วยไมครอน คือ 10-6 เมตร)
อนุภาคในทางเคมีมักนึกถึง โมเลกุล อะตอม และอิเล็กตรอน

ในทางฟิสิกส์มักนึกถึงอนุภาคย่อยของอะตอม (subatomic particle) ซึ่งอาจเป็นอนุภาคมูลฐาน (elementary particle) เช่น อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ได้แก่ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน หรืออนุภาคที่เชื่อว่าไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่นใดอีก ได้แก่ ควาร์ก เลปตอน และมีซอน














เปรียบเทียบขนาดของอะตอม นิวเคลียสซึ่งประกอบขึ้นจากโปรตอน (p) และนิวตรอน (n) ควาร์ก (q) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตอนและนิวตรอน รวมทั้งแสดงขนาดของอิเล็กตรอน


ในทางนิวเคลียร์จะนึกถึงอนุภาครังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากวัสดุกัมมันตรังสี เช่น รังสีแอลฟา (นิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม) รังสีบีตา (อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) นิวตรอนอิสระที่เคลื่อนที่



รังสีชนิดก่อไอออน (ionizing radiation)
รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออนุภาครังสีใด ๆ ที่มีพลังงานสูงเพียงพอจนสามารถทำให้อะตอมหรือโมเลกุลในตัวกลางที่รังสีผ่านไป เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ได้แก่ รังสีที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ (รังสีคอสมิก) รังสีจากวัสดุกัมมันตรังสี และจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พลังงานสูง (เครื่องเอกซเรย์ หรือ เครื่องเร่งอนุภาค) เป็นต้น
รังสีชนิดก่อไอออนที่สำคัญคือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอาจทำความเสียหายแก่ดีเอ็นเอ อันเป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์
รังสีอัลตราไวโอเลตพลังงานสูง ๆ รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมมา ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า จัดเป็นรังสีชนิดก่อไอออน

รังสีอัลตราไวโอเลตและแสงที่ตามองเห็น เป็นรังสีชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีพลังงานต่ำกว่ารังสีที่กล่าวข้างต้น สามารถทำให้โมเลกุลแตกตัวเป็นไอออนได้เพียงบางชนิด เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตมีผลทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดอาการไหม้เกรียมได้ และแสงมีผลต่อสารประกอบ ที่ใช้เคลือบบนฟิล์มถ่ายรูป หรือต่อโมเลกุลบางชนิดในพืช ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ได้ สำหรับคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุนั้นไม่ใช่รังสีชนิดก่อไอออน
เนื่องจากรังสีชนิดก่อไอออนมีมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นอนุภาคที่มีประจุบวก ประจุลบ หรือไม่มีประจุเลย หรืออีกหลายชนิดที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีระดับพลังงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นอันตรกิริยาของรังสีชนิดก่อไอออนต่อสสารจึงมีหลายแบบ ได้แก่ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ปรากฏการณ์คอมป์ตัน (Compton effect) แพร์โพรดักชัน (pair production) เบรมส์ชตราลุง (bremsstrahlung) และการจับยึดนิวตรอน (neutron capture) เป็นต้น



















รังสีแอลฟาและบีตา เป็นอนุภาคที่มีประจุ จะมีอันตรกิริยากับสสารที่รุนแรง และทำให้เกิดการแตกตัว เป็นไอออนได้โดยตรง โดยเฉพาะรังสีบีตา ทำให้เกิดรังสีเบรมส์ชตราลุงได้ด้วย ส่วนนิวตรอน ซึ่งไม่มีประจุ จะมีอันตรกิริยารุนแรงน้อยกว่า ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน ได้โดยอ้อม แต่การไม่มีประจุ กลับทำให้ทะลุทะลวงสสารไปได้มากกว่า



รังสีชนิดก่อไอออนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ยกตัวอย่างในทางการแพทย์ เช่น การฉายเอกซเรย์ การรักษามะเร็ง ในทางอุตสาหกรรมมีการใช้รังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมาในการถ่ายภาพรังสี (radiography) ในการตรวจสอบความบกพร่องของวัสดุ เช่น รอยรั่วของท่อส่งน้ำมัน ความผิดปกติภายในหอกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ใช้วัดระดับของเหลว ใช้วัดความหนาในกระบวนการผลิตกระดาษ ใช้ตรวจควันจากการเกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

คำถามจากดีเลอร์ เรื่องเลนส์

การวัดระยะโฟกัส เช่น เลนส์ 4 mm. มองได้ชัดกี่เมตร และมองภาพรวมได้ไกลกี่เมตร
และมีสูตรการคำนวณระยะโฟกัสของเลนส์แต่ละขนาดไหม
: รบกวนช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องตองคำถามด้วยนะค่ (อุ้ม)

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Mega Pixel คืออะไร

กล้อง IP camera ที่มีความละเอียดสูงถึง 1 ล้าน (.pixel) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและความคมชัดสูง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

คุณรู้จัก NTSC / PAL หรือยัง ?

คุณเคยสังเกตุบ้างมัยว่า
ตาม Spec กล้องวงจรปิด หลาย จะมีค่า NTSC /PAL ปรากฎอยู่ แทบทุกยี่ห้อ สงสัยมัยเอ๋ย ว่ามันหมายความว่าอะไร


NTSC / PAL เป็นมาตรฐานของการส่งสัญญาณ บรอดแคสต์ (Broadcast) ที่การส่งสัญญาณทีวีนิยมใช้กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ และมาตรฐานที่ในแต่ละประเทศนิยมใช้กัน

NTSC (National Television System Committee) มาตรฐานนี้ถูกใช้มาหลายปีแล้ว โดยเป็นมาตรฐานสำหรับระบบอนาล็อกที่ทุกๆ คนในอเมริกาและประเทศในแถบทวีปยุโรปใช้กับทีวีเครื่องเก่านั่นเอง โดยเป็นมาตรฐานที่รองรับการใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่ 60 Hz ซึ่งเป็นระดับกระแสไฟฟ้าที่ประเทศในแถบอเมริกาและยุโรปใช้กัน

PAL (Phase Alternating Line) เป็นมาตรฐานที่ประเทศทางแถบเอเชียนิยมใช้กัน รวมทั้งในเมืองไทย เนื่องจากระบบไฟฟ้าในแถบเอเชียจะใช้ความถี่ในช่วง 50 Hz จึงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรฐาน PAL ในการรับสัญญาณทีวี เพราะเป็นมาตรฐานที่ใช้กับกระแสไฟฟ้าในช่วง 50 Hz นั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลดี ๆจาก : Magazine E.COMMERCE Vol.95 November 2006




วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Function ที่มีใน กล้อง CCTV ระดับ Hi-End

Function ที่มีใน กล้อง CCTV ระดับ Hi-End

1.BMB (Black Mark BLC) ฟังก์ชั่นที่เหมาะสำหรับ กล้องที่ใช้ติดตั้งบริเวณ ป้อมยาม และลานจอดรถยนต์
2.WD (Wide Dynamic) ฟังก์ชั่นสำหรับกล้องที่นำไปติดตั้งย้อนแสง
3.OSD (On Screen Display) On Screen Display สำหรับ Setup/Config กล้อง
4.RS485 Port สำหรับต่อ Control Pan/Tit
5.Motion Detect ฟังก์ชั่นตรวจจับการเคลื่อนไหว
6.Private Zone ฟังก์ชั่นปิดในส่วนสำคัญ,พื้นที่สำคัญ ในขณะ Display หรือ REC
7.Hi-Resolution
8.AGC (Auto Gain Control) ฟังก์ชั่นขยายสัญญาณภาพของกล้องวงจรปิด
9.Mirror ฟังก์ชั่นกลับภาพ
10.Alarm I/O Port สำหรับต่อ Alarm I/O
11.Day / Night ฟังก์ชั่น ที่ Switch ให้กล้องวงจรปิดเลือกการทำงานคือ ทำงานเป็นกล้องสีในเวลากลางวัน
และทำงานเป็นกล้องขาว-ดำในเวลากลางคืน


ถ้ายังขาดฟังก์ชั่นใดอย่างไร เชิญเพิ่มเติมใน Blog ได้เลยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

Metal Detector Technology


Metal Detector Technology
Walk-Through Metal Detector

หลักการทำงานทั่วไปของเครื่องตรวจจับโลหะหรืออาวุธ แบบเดินผ่าน (Walk-Through)


เครื่องตรวจจับโลหะหรืออาวุธ แบบเดินผ่าน (Walk-Through) โดยทั่วไปใช้สำหรับตรวจเช็คการผ่านเข้า – ออกของบุคคล อาวุธหรือโลหะต้องสงสัย นิยมติดตั้งเพื่อความปลอดภัยในสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น สนามบิน, สถานทูต , ศูนย์ประชุม และสถานที่ราชการ




ส่วนประกอบพื้นฐานของ Walk-Through Metal Detector

1. กรอบประตูทั้ง 2 ด้าน (Two Panels)
2. ส่วนที่ใช้เชื่อมต่อกรอบประตูทั้งสองด้านไว้ด้วยกัน (Bridge)
3. ส่วนควบคุมการทำงาน (Control Units)
4. LED location Display ส่วนแสดงตำแหน่งการตรวจจับ
5. Power Connector


อุปกรณ์แสดงผลมาตรฐานของ Walk-Through Metal Detector
1.LCD จอแสดงผล ใช้ แสดงผล จำนวนการผ่านเข้าออก,จำนวนการตรวจจับ,สถานะการโปรแกรม
2.Bar Graphs แสดงปริมาณความหนาแน่นของวัตถุที่ตรวจจับได้
3.LED location Display ส่วนแสดงตำแหน่งการตรวจจับ
4.Speaker Alarm

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

มารู้จัก ระบบโทรทัศน์วงจรปิด กันเถอะ

ระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือ ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า CCTV คำว่า CCTV มาจากคำว่า "Closed Circuit Television System"


ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ( CCTV System) เป็นการส่งสัญญาณภาพ จากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ที่ได้ติดตั้งตามที่ต่างๆ มายังส่วนรับภาพ/ดูภาพ ซึ่งเรียกว่า จอภาพ ( Monitor ) โดยทั่วไปจะติดตั้งอยู่คนละที่กับกล้อง เช่นที่ห้องควบคุม เป็นต้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบโทรทัศน์วงจรปิด
1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV Camera)
2. เลนส์ (CCTV Lenses)
3. เครื่องเลือก / สลับภาพ (Video Switcher) และเครื่องผสม / รวมภาพ (Multiple Screen Displays)
4. จอภาพ (Video Monitor)
5. เครื่องบันทึกภาพ (Video Recorder)
6. อุปกรณ์เสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบโทรทัศน์วงจรปิด(Related Accessories for more efficiency CCTV System)
- กล่องหุ้มกล้อง (Camera Housing)
- ฐานกล้องปรับทิศทางได้ (Pan & Tilt units)
- อุปกรณอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. ระบบการควบคุม (Control System)
8. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่นำเข้าใช้เกี่ยวข้องกับระบบโทรทัศน์วงจรปิด

แต่ถ้าจะติดตามบ้าน ไม่ใช่ระบบใหญ่ๆ ก็ ไม่ต้องมีครบทุกอย่างที่กล่าวมาด้านบน แค่กล้องวงจรปิด เครื่องบันทึกภาพ และ monitor สำหรับไว้ดูภาพก็สามารถใช้งานได้แล้ว (เกือบลืม ต้องมีสายสัญญาณด้วยนะ)

คลิกเพื่อเข้าสู่ Facebook