วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การบันทึกภาพ ของกล้อง IP CAMERA สามารถทำได้หรือไม่

การบันทึกภาพ ของกล้อง IP CAMERA สามารถทำได้หรือไม่ หากบันทึกภาพได้ มีวิธีการทำได้กี่แบบ อย่างไรบ้าง /ตุ๊กตา

แนวโน้ม CCTV เป็นยังไงครับ

การเลือกใช้เลนส์

การเลือกใช้เลนส์ต้องดูอย่างงัยครับ

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความยาวโฟกัสแบ่งออกได้กี่แบบครับ

cctv คืออะไรครับ

กล้องวงจรปิด (CCTV) ย่อมาจาก Closed-circuit television ซึ่งจะทำหน้าที่รับภาพที่ปรากฏอยู่ และทำการแปลงเป็นสัญญาณ และทำการส่งสัญญาณดังกล่าวไปในจุดที่ต้องการในลักษณะ point to point ซึ่งตัวรับภาพของกล้องวงจรปิดนั้น แบ่งได้เป็น 2 แบบ1. CMOS (ซีมอส) ซึ่งจะใช้กับกล้องวงจรปิดที่มีราคาถูก คุณภาพต่ำ2. CCD (ซีซีดี) จะใช้กับกล้องวงจรปิดที่มีคุณภาพปานกลาง-สูง ซึ่งในกล้องวงจรปิดในปัจจุบันนี้ได้เลือกใช้ CCD Sensor ทั้งหมดแล้ว เนื่องจากราคาของ CCDSensor ได้ลดลงมากแล้ว ซึ่งหากแบ่งตามรูปทรงการใช้งานนั้น จะสามารถแบ่งได้หลัก ๆ ดังนี้1.กล้องวงจรปิดแบบโดม (Dome CCTV) ซึ่งก็มีทั้งแบบ indoor , outdoor ซึ่งเหมาะสมติดตั้งในจุดที่ต้องการความเรียบร้อยและสวยงาม เนื่องจากจะดูกลมกลืน ไม่เกะกะสายตา

กล้องวงจรปิดแบบโดม
2.กล้องวงจรปิดแบบ C/CS Mount (C/CS Mount CCTV) ซึ่งมีแบบ indoor เท่านั้น โดยสามารถติดตั้งในกล่องกันฝน เพื่อใช้งาน outdoorได้เช่นกัน และกล้องวงจรปิดชนิดนี้สามารถเปลี่ยน Lens เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้หลากหลาย เช่น เลนส์มุนกว้าง , มุมแคบ , ชนิดปรับลดแสงอัตโนมัติ(auto iris)
กล้องวงจรปิดแบบ C/CS Mont
3.กล้องวงจรปิดแบบอินฟราเรด (infrared CCTV) ซึ่งมีทั้งแบบ indoor , outdoor โดยจะทำในหลายรูปแบบ เช่น infrared dome CCTV , Built-in Lens infrared CCTV โดยกล้องวงจรปิดแบบนี้มีจุดเด่นที่สามารถรับภาพได้แม้ในที่มืดสนิท (0 Lux)

กล้องวงจรปิดอินฟาเรดทั้งแบบ Dome และ Built - in Lens

podter

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กล้อง Analog จำเป็นต้องบันทึกลง DVR อย่างเดียวหรือไม่

ต้องการติดกล้องวงจรปิด แต่ไม่ต้องการใช้ DVR เป็นเครื่องบันทึก
แต่จะบันทึกลง hand disk คอมพิวเตอร์แทนทำได้หรือไม่
หมายเหตุ : กล้องที่ใช้เป็น Analog ไม่ใช่ IP Camera

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2551

อยากให้แนะนำกล้อง ir

เรามีความสนใจกล้อง ir อยากให้แนะนำกล้อง ir ที่ทนต่อความร้อนและจะไม่เสียง่าย ว่ามีรุ่นไหนบ้าง

กล้องรับภาพ (CAMERA)

กล้องรับภาพ (CAMERA)
โดยทั่วไปแล้วจะถูกแบ่งง่ายๆ ออกเป็นสองชนิดคือ กล้องสี และกล้องขาวดำซึ่งขึ้นอยู่กับ ความต้องการ ของผู้ใช้และสถานที่ในการ ติดตั้งซึ่งต้องประกอบไปด้วย ลักษณะ ของการใช้งานจริง ยกตัวอย่างเช่น
กล้องสี ควรใช้งานกับสถานที่ที่มีแสงสม่ำเสมอ เช่น ซูปเปอร์มาเก็ต, มินิมาร์ท, ร้านทอง ฯลฯ เป็นต้น จากกลุ่มที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้นมีความ เหมาะสมกล่าวคือกล้องสีสามารถแยกแยะรายละเอียดหรือสีของสิ่งของ ได้ดี และในสถานที่ที่ยกตัวอย่างดังกล่าวก็มีการใช้แสงสว่างค่อนข้างมาก และสม่ำเสมอภาพที่มา ปรากฎบนหน้าจอมอนิเตอร์ ก็จะมีความชัดเจน
กล้องขาวดำ กล้องชนิดนี้เป็นกล้องที่ใช้แสงในการรับภาพต่ำมาก (LUX) เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้งานในด้านการรักษาความปลอดภัยเนื่องจาก สามารถดูในเวลากลางคืนได้ ดีกว่ากล้องสีเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ในอาคาร, คลังสินค้า, โรงงาน, กระบวนการผลิต, พื้นที่อันตราย, เคาเตอร์เก็บเงิน, ลานจอดรถ, ปั๊มน้ำมัน หรือสถานที่ที่ใช้อุปกรณ์ดูแลรักษาความปลอดภัย

มารู้จักพื้นฐานการเกิดรังสีกันเถอะ(ต่อ)

รังสีแอลฟา (alpha rays)


อนุภาคแอลฟาประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค
รังสีชนิดอนุภาคที่ก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้สูงแต่มีการทะลุทะลวงต่ำ โดยเป็นกระแสของอนุภาคแอลฟา (?) ซึ่งเป็นอนุภาคประจุบวกที่ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาคและนิวตรอน 2 อนุภาค เทียบเท่ากับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 (He2+).มีมวล 6.644656?10-27 กิโลกรัม ในธรรมชาติรังสีแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ยูเรเนียม หรือทอเรียม ที่เรียกว่าการสลายให้อนุภาคแอลฟา (alpha decay หรือ alpha disintegration) ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่ออะตอมชนิดนั้น ๆ มีอัตราส่วนของนิวตรอนต่อโปรตอนในนิวเคลียสต่ำ




พอโลเนียม-210 ซึ่งไม่เสถียร มีอัตราส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนเท่ากับ 1.5 เมื่อสลายให้อนุภาคแอลฟาและแปรธาตุเป็นตะกั่ว-206 ซึ่งเสถียร มีอัตราส่วนนิวตรอนต่อโปรตอนเพิ่มขึ้นเป็น 1.51




อนุภาคแอลฟาที่ปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมที่มีขนาดใหญ่จะมีพลังงานสูงอยู่ในช่วง 3 ถึง 7 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ (MeV) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรังสีชนิดอื่น ๆ ที่ปล่อยออกมาจากการสลายของสารกัมมันตรังสีด้วยกันแล้ว รังสีแอลฟามีน้ำหนักมากกว่า จึงเคลื่อนที่ได้ช้ากว่า ถ้าเฉลี่ยว่าเป็นอนุภาคแอลฟาที่มีพลังงาน 5 MeV ก็จะมีความเร็ว 15,000 กิโลเมตรต่อวินาที

รังสีแอลฟามีการทะลุทะลวงต่ำที่สุด



การที่อนุภาคแอลฟามีประจุและมีมวลมากทำให้ถูกสสารดูดกลืนได้ง่าย จึงมีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ โดยจะผ่านไปในอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้
ดังนั้นรังสีแอลฟาจะไม่มีอันตรายเมื่ออยู่ภายนอกร่างกายมนุษย์ แต่หากหากเข้าไปอยู่ในร่างกาย อาจจะโดยการสูดหายใจหรือกลืนสารที่เป็นต้นกำเนิดรังสีแอลฟาเข้าไป การมีประจุและมีมวลมากกว่ากลับเป็นอันตรายต่อเซลล์ร่างกายมากกว่ารังสีชนิดอื่น







รังสีบีตา (beta rays)
รังสีที่เป็นอนุภาคพลังงานและความเร็วสูง อาจจะเป็นอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ (?-) หรือโพซิตรอนซึ่งเป็นปฏิยานุภาค (antiparticle) ของอิเล็กตรอนและมีประจุบวก (?+) เรียกรวม ๆ กันว่าอนุภาคบีตา ในธรรมชาติรังสีบีตาถูกปล่อยออกจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสีบางชนิดเช่นโพแทสเซียม-40 ขณะเกิดการสลายให้อนุภาคบีตา (beta decay) พลังงานของรังสีบีตาแตกต่างกันเป็นช่วงกว้างแล้วแต่ว่าถูกปลดปล่อยออกมาจากนิวไคลด์ชนิดใด จึงอาจผ่านไปในอากาศได้หลายเซนติเมตรหรือหลายเมตรก็ได้ สามารถผ่านทะลุผิวหนังหรือเนื้อเยื่อได้ 2-3 มิลลิเมตรจึงใช้เพียงฝ่ามือก็กั้นรังสีบีตาไว้ได้ หรือจะใช้แผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆ ก็กั้นรังสีบีตาได้
อนุภาคบีตามีมวลเพียงประมาณ 1 ใน 2,000 ของมวลอนุภาคโปรตอน และมีประจุ +1 จึงทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ต่ำกว่าอนุภาคแอลฟามาก เพราะอนุภาคแอลฟามีประจุมากกว่าคือ +2 และยังมีมวลมากกว่าอิเล็กตรอนมากด้วย

การสลายให้ ?- เกิดกับนิวเคลียสที่มีนิวตรอนมากเกินไป กล่าวคือมีอัตราส่วนของนิวตรอนต่อโปรตอนสูงมาก เพื่อให้มีเสถียรภาพมากขึ้นนิวตรอนส่วนเกินจะแปรไปเป็นโปรตอนและอิเล็กตรอน โดยโปรตอนยังคงอยู่ในนิวเคลียส แต่ปล่อยอิเล็กตรอนพลังงานสูงออกมา และมักปล่อยรังสีแกมมาออกมาด้วย การสลายแบบนี้ทำให้นิวไคลด์ที่สลายมีโปรตอนเพิ่มขึ้น จึงเกิดการแปรธาตุไปเป็นธาตุที่มีเลขเชิงอะตอมสูงขึ้นด้วย เช่น เทคนีเชียมซึ่งมีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 43 แปรธาตุเป็นรูทีเนียมที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 44
มีการใช้รังสีบีตาจากสตรอนเชียม-90 สำหรับรักษามะเร็งที่ตาและกระดูกหรือใช้เป็นตัวแกะรอย (tracer) นอกจากนี้ยังมีการใช้รังสีบีตาสำหรับควบคุมความหนาในการผลิตกระดาษ



วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กล้องCCTVและDVRเป็นภาพขาวดำ

ปัจจุบันนี้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในตลาดล้วนแต่เป็นกล้องสีเกือบทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและราคาที่ถูกลง แต่ก็มีบางครั้งที่เมื่อติดตั้งกล้องแล้ว เอ๊ะ ทำไมภาพที่ออกมาดันเป็นขาว-ดำ?? คงเคยมีบ้างใช่มั๊ยครับไม่มากก็น้อยที่เกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น และคำตอบส่วนใหญ่เลยก็คือ เราตั้งระบบสัญญาณวิดีโอผิดนั่นเองครับ
ถ้าเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นให้ลองพิจารณาดูที่ 2 อันดับแรกเลยครับ หนึ่ง คือที่เครื่องบันทึกภาพ กรณีที่ใช้เครื่องบันทึกภาพแบบ Stand Alone จะมีเมนูให้กำหนดค่ามาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสี (Television Broadcast Standard) โดยปกติบ้านเราจะใช้ระบบ PAL ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดค่าตรงนี้ให้เป็น PAL ด้วย เพราะบางทีเครื่องที่ซื้อมาอาจตั้งค่าดั้งเดิมเอาไว้เป็น NTSC ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมาเป็นขาวดำ หรือบางกรณีอาจจะไม่มีภาพออกมาเลยก็เป็นได้ครับ
ถัดมาให้ดูที่ตัวเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์หรือ จอทีวีครับ ว่าตั้งไว้เป็น PAL หรือ NTSC ซึ่งก็ต้องเลือกเป็น PAL เช่นเดียวกันครับ ไม่เช่นนั้นผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้ได้ภาพไม่มีสีสัน ทั้งๆ ที่อุตส่าซื้อกล้องสีมานั่นแหละครับ
ไหนๆ ก็พูดมาถึงเรื่องสัญญาณวิดีโอแล้วผมก็จะขอเพิ่มเติมครับว่า มาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสีที่ว่าเป็น PAL หรือ NTSC นี้คืออะไร
มาตรฐานดังกล่าวที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 แบบ คือ NTSC, PAL และ SECAM แล้วแต่ว่าประเทศไหนจะใช้มาตรฐานใด ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบ PAL ครับ ทีนี้เรามาทำความรู้จักกันทีละอันนะครับ
NTSC ย่อมาจาก The National Television Standard Committee เป็นมาตรฐานแรกของโลก พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 โดย FCC (Federal Communications Commission) หน่วยงานของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานนี้จะมีจำนวนเส้นทีวีแนวนอน (TV Lines) 525 เส้น และแนวตั้ง 60 เส้น และมีจำนวนภาพ 30 ภาพต่อวินาที ระบบนี้มีชื่อเล่นๆ อีกอย่างครับว่า Never Twice the Same Color เพราะระบบนี้ให้สีที่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ อันนี้เค้าแซวกันขำๆ นะครับ ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา เป็นต้น
SECAM ย่อมาจาก Syst่me Electronique Pour Couleur Avec Mmoire พัฒนาขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1967 มาตรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และแนวตั้ง 50 เส้น มีการส่งสัญญาณหลายแบบ แต่ละแบบจะส่งสัญญาณภาพและเสียงแยกแบนด์วิธกัน เช่น แบบ B,D ส่ง VHF แบบ G,H,K ส่ง UHF แบบ I,N,M,K1,L ส่งทั้ง VHF/UHF และแต่ละแบบจะใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกัน ระบบนี้ก็มีคำเต็มที่แซวกันเล่นๆ เช่นกันครับว่า Something Essentially Contrary to the American Method หรือบางทีก็ SEcond Colour Always Magenta อาจเพราะให้สีออกม่วงๆ ก็ได้ครับ มาตรฐานนี้ใช้แถบความถี่กว้างมาก ทำให้มีช่องไม่กี่ช่อง จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม ที่ใช้อยู่ก็มีประเทศฝรั่งเศส ประเทศแถบรัสเซีย หรือ ประเทศแถบผู้ก่อการร้าย และในแอฟริกา เป็นต้น
PAL ย่อมาจาก Phase Alternating Line พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ Walter Bruch ในปี 1963 แต่เริ่มเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1967 มาจรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และ 50 เส้นทางแนวตั้ง ความถี่จำนวนภาพ 25 ภาพต่อวินาที มีการแยกแบนด์วิทระหว่างสัญญาณภาพและเสียง ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศในแถบยุโรป เป็นต้น ครับ และสุดท้ายมาตรฐานนี้ก็มีชื่อเล่นๆ ว่า Perfect At Last
หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อมาตรฐาน SECAM นัก ส่วน NTSC กับ PAL นั้น จะเห็นว่า PAL จะให้รายละเอียดจำนวนเส้นดีกว่าจึงให้ภาพที่คมชัดกว่า ขณะที่ให้จำนวนภาพต่อวินาทีน้อยกว่า ดังนั้นการบันทึกภาพในระบบ PAL จะใช้สื่อบันทึก เช่น ม้วนเทป น้อยกว่าในเวลาที่เท่ากัน
ตารางแสดงประเทศที่ใช้มาตรฐานสัญญาณต่างๆ

Vloss คืออะไร

Vloss คือไม่มีสัญญาณภาพครับ ย่อมาจาก Video Loss คือสัญญาณภาพหายลองทำตามนี้นะครับถ้ามีกล้องอยู่อีกตัวที่ยังดีอยู่มีสัญญาณภาพลองเอามาต่อเข้าที่ช่องนี้ดูวิธีเช็คว่ากล้องเสียหรือไม่ให้นำกล้องมาต่อเข้าทีวีตรงๆเลยครับโดยต่อผ่านช่อง AV ของทีวี ทดสอบว่ามีภาพหรือไม่ และลองดูว่าไฟจ่ายไปที่ตัวกล้องหรือเปล่า

มารู้จักพื้นฐานการเกิดรังสีกันเถอะ

อนุภาค
คำว่า อนุภาค (particle) มาจาภาษาละตินซึ่งหมายถึง ส่วนเล็ก ๆ (little part) ดังนั้นอนุภาคในความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงสิ่งที่มีขนาดเล็กมากที่คงทำให้นึกถึงฝุ่นผงที่ตามองเห็นได้ แต่ในทางวิทยาศาสตร์มองว่าอนุภาคเป็นส่วนที่เล็กมากที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสสาร เช่น ผลึก โมเลกุล อะตอม ซึ่งแม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ก็อาจมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนหรืออุปกรณ์วิเคราะห์ภาพชนิดต่าง ๆ และที่ยังเล็กลงไปกว่านั้นอีก ซึ่งอนุภาคบางชนิด ก็ยังไม่มีเครื่องมือชนิดใดจับภาพได้โดยตรง เพียงแต่พิสูจน์โดยทางอ้อมได้ว่ามีอยู่จริง

เปรียบเทียบขนาดของอนุภาคที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ (หน่วยไมครอน คือ 10-6 เมตร)
อนุภาคในทางเคมีมักนึกถึง โมเลกุล อะตอม และอิเล็กตรอน

ในทางฟิสิกส์มักนึกถึงอนุภาคย่อยของอะตอม (subatomic particle) ซึ่งอาจเป็นอนุภาคมูลฐาน (elementary particle) เช่น อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ได้แก่ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน หรืออนุภาคที่เชื่อว่าไม่ได้ประกอบขึ้นจากอนุภาคอื่นใดอีก ได้แก่ ควาร์ก เลปตอน และมีซอน














เปรียบเทียบขนาดของอะตอม นิวเคลียสซึ่งประกอบขึ้นจากโปรตอน (p) และนิวตรอน (n) ควาร์ก (q) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตอนและนิวตรอน รวมทั้งแสดงขนาดของอิเล็กตรอน


ในทางนิวเคลียร์จะนึกถึงอนุภาครังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากวัสดุกัมมันตรังสี เช่น รังสีแอลฟา (นิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม) รังสีบีตา (อิเล็กตรอนหรือโพซิตรอน) นิวตรอนอิสระที่เคลื่อนที่



รังสีชนิดก่อไอออน (ionizing radiation)
รังสีที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรืออนุภาครังสีใด ๆ ที่มีพลังงานสูงเพียงพอจนสามารถทำให้อะตอมหรือโมเลกุลในตัวกลางที่รังสีผ่านไป เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม ได้แก่ รังสีที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ (รังสีคอสมิก) รังสีจากวัสดุกัมมันตรังสี และจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พลังงานสูง (เครื่องเอกซเรย์ หรือ เครื่องเร่งอนุภาค) เป็นต้น
รังสีชนิดก่อไอออนที่สำคัญคือ รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอาจทำความเสียหายแก่ดีเอ็นเอ อันเป็นสาเหตุของการกลายพันธุ์
รังสีอัลตราไวโอเลตพลังงานสูง ๆ รังสีเอกซ์ และรังสีแกมมมา ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า จัดเป็นรังสีชนิดก่อไอออน

รังสีอัลตราไวโอเลตและแสงที่ตามองเห็น เป็นรังสีชนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีพลังงานต่ำกว่ารังสีที่กล่าวข้างต้น สามารถทำให้โมเลกุลแตกตัวเป็นไอออนได้เพียงบางชนิด เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตมีผลทำให้เซลล์ผิวหนังเกิดอาการไหม้เกรียมได้ และแสงมีผลต่อสารประกอบ ที่ใช้เคลือบบนฟิล์มถ่ายรูป หรือต่อโมเลกุลบางชนิดในพืช ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ได้ สำหรับคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุนั้นไม่ใช่รังสีชนิดก่อไอออน
เนื่องจากรังสีชนิดก่อไอออนมีมากมายหลายชนิดทั้งที่เป็นอนุภาคที่มีประจุบวก ประจุลบ หรือไม่มีประจุเลย หรืออีกหลายชนิดที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีระดับพลังงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นอันตรกิริยาของรังสีชนิดก่อไอออนต่อสสารจึงมีหลายแบบ ได้แก่ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) ปรากฏการณ์คอมป์ตัน (Compton effect) แพร์โพรดักชัน (pair production) เบรมส์ชตราลุง (bremsstrahlung) และการจับยึดนิวตรอน (neutron capture) เป็นต้น



















รังสีแอลฟาและบีตา เป็นอนุภาคที่มีประจุ จะมีอันตรกิริยากับสสารที่รุนแรง และทำให้เกิดการแตกตัว เป็นไอออนได้โดยตรง โดยเฉพาะรังสีบีตา ทำให้เกิดรังสีเบรมส์ชตราลุงได้ด้วย ส่วนนิวตรอน ซึ่งไม่มีประจุ จะมีอันตรกิริยารุนแรงน้อยกว่า ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน ได้โดยอ้อม แต่การไม่มีประจุ กลับทำให้ทะลุทะลวงสสารไปได้มากกว่า



รังสีชนิดก่อไอออนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ยกตัวอย่างในทางการแพทย์ เช่น การฉายเอกซเรย์ การรักษามะเร็ง ในทางอุตสาหกรรมมีการใช้รังสีเอกซ์หรือรังสีแกมมาในการถ่ายภาพรังสี (radiography) ในการตรวจสอบความบกพร่องของวัสดุ เช่น รอยรั่วของท่อส่งน้ำมัน ความผิดปกติภายในหอกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ใช้วัดระดับของเหลว ใช้วัดความหนาในกระบวนการผลิตกระดาษ ใช้ตรวจควันจากการเกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

คำถามจากดีเลอร์ เรื่องเลนส์

การวัดระยะโฟกัส เช่น เลนส์ 4 mm. มองได้ชัดกี่เมตร และมองภาพรวมได้ไกลกี่เมตร
และมีสูตรการคำนวณระยะโฟกัสของเลนส์แต่ละขนาดไหม
: รบกวนช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องตองคำถามด้วยนะค่ (อุ้ม)

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Mega Pixel คืออะไร

กล้อง IP camera ที่มีความละเอียดสูงถึง 1 ล้าน (.pixel) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและความคมชัดสูง

คลิกเพื่อเข้าสู่ Facebook