กล้องวงจรปิด ราคาพิเศษ จัดโปรโมชั่น DVR Hikvision กล้องวงจรปิด อุปกรณ์ กันขโมย ตรวจจับโลหะ เครื่องตรวจจับโลหะ ครบวงจร ภาพชัดเทคโนโลยีใหม่ H.264 คุณภาพสูง
JPEG2000 เป็นมาตรฐานการบีบอัดภาพนิ่งที่เป็นมาตรฐานใหม่ ถูกพัฒนาโดย Joint PhotographicExperts Group (JPEG) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ International Organization for Standardization (ISO) มาตรฐานการบีบอัด JPEG2000 ถูกออกแบบมาเพื่อบีบอัดภาพนิ่งรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ bi-level ภาพ grey-level ภาพสีและภาพ multicomponent ทั้งนี้มาตรฐาน JPEG2000 สามารถรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การใช้งานในลักษณะเซิร์ฟเวอร์กับผู้ใช้บริการ การส่งแบบเวลาจริง การค้นคืนภาพ การใช้ตัวกลางที่มีบัฟเฟอร์และแบนด์วิธขนาดจำกัด เป็นต้น โดยมาตรฐาน JPEG2000 นั้นสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการบีบอัดให้มีคุณภาพเหนือกว่ามาตรฐานก่อนหน้านี้ โดย JPEG2000 มีประสิทธิภาพการบีบอัดสูงกว่า JPEG ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากนี้มาตรฐาน JPEG2000 ยังมีรูปแบบการเข้ารหัส 2 แบบ ได้แก่ การเข้ารหัสแบบ DCT ซึ่งเป็นการเข้ารหัสของ JPEGเดิมอยู่แล้ว และการเข้ารหัสแบบ Waveletตัวเข้ารหัสของ JPEG2000 เป็น bit-plane coder ใช้หลักการเข้ารหัสแบบ Embedded Block Codingwith Optimized Truncation (EBCOT) หลักการของ EBCOT คือ การแบ่งซับแบนด์ออกเป็นบล็อกย่อยๆ ซึ่งจะเข้ารหัสแยกจากกัน แต่ละบล็อกจะได้รหัสเลขฐานสองออกมา โดยไม่ใช้ข้อมูลของบล็อกอื่นๆ เราสามารถลดทอนรหัสเหล่านี้ให้เหลือเพียงความยาวที่ต้องการได้ โดยกระบวนการหลังการบีบอัดภาพจะทำการวิเคราะห์ว่าควรจะลดทอนรหัสของแต่ละบล็อกลงเท่าใด ผลของการบีบอัดจึงจะได้ตาม bit rate ที่ต้องการรหัสของมาตรฐาน JPEG2000 มีลักษณะเป็นชั้น (layer) โดยในชั้นแรกจะเป็นชั้นที่มีคุณภาพต่ำที่สุด รหัสจะประกอบขึ้นจากรหัสที่ถูกลดทอนดังกล่าว จากนั้นชั้นต่อไปจะประกอบไปด้วยรหัสที่ถูกลดทอนลงเช่นเดียวกัน แต่เป็นการลดทอนเพื่อให้ได้ bit rate ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่ารหัสในชั้นที่สูงขึ้นสามารถนำไปประกอบกับรหัสในชั้นที่ต่ำกว่าในส่วนใด จากการที่แต่ละบล็อกเข้ารหัสอย่างเป็นอิสระต่อกันนั้น ส่งผลให้ทำการถอดรหัสบล็อกใดบล็อกหนึ่งตามต้องการได้ (Random access) นอกจากนี้เนื่องจากการเข้ารหัสนั้น รหัสส่วนที่เป็นโครงสร้างหยาบๆจะมาก่อนหรืออยู่ในชั้นที่ต่ำกว่ารหัสส่วนที่เป็นรายละเอียด ทำให้การเข้ารหัสเป็นแบบSNR progressive อีกด้วย3. จุดเด่นของมาตรฐาน JPEG2000เนื่องมาจากมาตรฐาน JPEG2000 นั้น ได้มีการพัฒนามาตรฐานการบีบอัดภาพของ JPEG ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม โดยมาตรฐาน JPEG2000 มีความสามารถเหนือกว่ามาตรฐานอื่นๆ ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้1. มีสมรรถนะในการบีบอัดภาพที่อัตราบิตต่ำ (Superior Low Bit Rate Performance) โดยภาพที่ผ่านการบีบอัดแบบ JPEG2000 ที่อัตราบิตต่ำ (จำนวนบิตข้อมูลเฉลี่ยต่อ 1 จุดภาพ) มีประสิทธิภาพในการบีบอัด และให้คุณภาพที่สูงกว่าการบีบอัดภาพแบบ JPEG ที่อัตราบิตต่ำ โดยสามารถที่จะรองรับอัตราบิตต่ำได้ถึง 0.25บิตต่อจุดภาพ สำหรับภาพระดับเทา (Gray Scale) สามารถที่จะทำงานได้ดีที่ระดับอัตราบิตต่ำประมาณ0.05 บิตต่อจุดภาพ(ก) รูปที่ 1 ภาพนิ่งที่สร้างคืนจากการบีบอัดที่ 0.125 bpp ด้วยมาตรฐาน ก) JPEG ข) JPEG2. เป็นได้ทั้งการบีบอัดภาพแบบไร้ความสูญเสีย (Lossless Compression) และการบีบอัดแบบที่มีความสูญเสียเล็กน้อย (lossy Compression)3. มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบก้าวไปข้างหน้า (Progressive Transmission) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมอย่างมากในการรับข้อมูลภาพบนช่องสัญญาณที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (Slow Communication Link) การส่งแบบนี้ทำให้สามารถสร้างคืนภาพโดยมีความถูกต้องของจุดภาพและความละเอียดของภาพสูงขึ้นเรื่อยๆได้ส่งผลให้สามารถสร้างคืนภาพได้ที่ความถูกต้องและความละเอียดตามที่ต้องการ หรือเลือกให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้ได้รูปที่ 2 ภาพแบบ progressive ความละเอียด4. การเข้ารหัสเฉพาะบริเวณ (Region of interest หรือ ROI) เนื่องจากในภาพนิ่งหนึ่งๆ มักมีบริเวณที่มีความสำคัญสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ผู้ใช้สามารถเลือกบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้เข้ารหัสและส่งด้วยคุณภาพที่ดีกว่าบริเวณอื่นๆได้5. การสามารถเข้าถึงและประมวลผลรหัสเฉพาะบริเวณได้ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกเข้าถึงบริเวณ ROI ใดๆ เพื่อสร้างภาพคืน หรือทำการประมวลผลต่างๆ ได้แก่ การหมุน หรือการขยายบริเวณนั้นๆ6. ความทนทานต่อการเกิดความผิดพลาดของข้อมูลระดับบิตในช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน ได้แก่ การส่งไร้สายและอินเทอร์เน็ต เนื่องจากบางส่วนของรหัสอาจะมีความสำคัญมากกว่าบริเวณอื่น จึงมีการออกแบบรหัสให้สามารถแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูลได้7. ด้านความปลอดภัย JPEG2000 รองรับการรักษาความปลอดภัยและลิขสิทธิ์ในรูปแบบของการทำลายน้ำและการเข้ารหัสภาพ8. ภาพขนาดใหญ่ JPEG2000 รองรับขนาดรูปภาพได้สูงถึง 232-1 ในขณะที่ JPEG รองรับขนาดได้เพียง64kX64k9. รูปที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์10. การปรับปรุงวิธีการบีบอัดภาพให้ดีขึ้นเพื่อรองรับภาพที่มีรายละเอียดและความละเอียดของภาพมากขึ้น11. การรวมข้อมูลที่ไม่ใช่รูปภาพเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์นอกจากนี้ JPEG2000 ยังสามารถรองรับรูปแบบของสีแบบอื่นๆนอกเหนือไปจากแบบ RGB ได้ด้วยแตกต่างไปจาก JPEG ซึ่งสามารถรองรับได้เพียงสีแบบ RGB
แสดงความคิดเห็น
1 ความคิดเห็น:
JPEG2000
เป็นมาตรฐานการบีบอัดภาพนิ่งที่เป็นมาตรฐานใหม่ ถูกพัฒนาโดย Joint Photographic
Experts Group (JPEG) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ International Organization for Standardization (ISO) มาตรฐาน
การบีบอัด JPEG2000 ถูกออกแบบมาเพื่อบีบอัดภาพนิ่งรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ bi-level ภาพ grey-level ภาพสี
และภาพ multicomponent ทั้งนี้มาตรฐาน JPEG2000 สามารถรองรับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การ
ใช้งานในลักษณะเซิร์ฟเวอร์กับผู้ใช้บริการ การส่งแบบเวลาจริง การค้นคืนภาพ การใช้ตัวกลางที่มีบัฟเฟอร์และแบนด์
วิธขนาดจำกัด เป็นต้น โดยมาตรฐาน JPEG2000 นั้นสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการบีบอัดให้มีคุณภาพเหนือกว่า
มาตรฐานก่อนหน้านี้ โดย JPEG2000 มีประสิทธิภาพการบีบอัดสูงกว่า JPEG ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากนี้
มาตรฐาน JPEG2000 ยังมีรูปแบบการเข้ารหัส 2 แบบ ได้แก่ การเข้ารหัสแบบ DCT ซึ่งเป็นการเข้ารหัสของ JPEG
เดิมอยู่แล้ว และการเข้ารหัสแบบ Wavelet
ตัวเข้ารหัสของ JPEG2000 เป็น bit-plane coder ใช้หลักการเข้ารหัสแบบ Embedded Block Coding
with Optimized Truncation (EBCOT) หลักการของ EBCOT คือ การแบ่งซับแบนด์ออกเป็นบล็อกย่อยๆ ซึ่งจะ
เข้ารหัสแยกจากกัน แต่ละบล็อกจะได้รหัสเลขฐานสองออกมา โดยไม่ใช้ข้อมูลของบล็อกอื่นๆ เราสามารถลดทอน
รหัสเหล่านี้ให้เหลือเพียงความยาวที่ต้องการได้ โดยกระบวนการหลังการบีบอัดภาพจะทำการวิเคราะห์ว่าควรจะ
ลดทอนรหัสของแต่ละบล็อกลงเท่าใด ผลของการบีบอัดจึงจะได้ตาม bit rate ที่ต้องการ
รหัสของมาตรฐาน JPEG2000 มีลักษณะเป็นชั้น (layer) โดยในชั้นแรกจะเป็นชั้นที่มีคุณภาพต่ำที่สุด รหัส
จะประกอบขึ้นจากรหัสที่ถูกลดทอนดังกล่าว จากนั้นชั้นต่อไปจะประกอบไปด้วยรหัสที่ถูกลดทอนลงเช่นเดียวกัน แต่
เป็นการลดทอนเพื่อให้ได้ bit rate ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่ารหัสในชั้นที่สูงขึ้น
สามารถนำไปประกอบกับรหัสในชั้นที่ต่ำกว่าในส่วนใด จากการที่แต่ละบล็อกเข้ารหัสอย่างเป็นอิสระต่อกันนั้น ส่งผล
ให้ทำการถอดรหัสบล็อกใดบล็อกหนึ่งตามต้องการได้ (Random access) นอกจากนี้เนื่องจากการเข้ารหัสนั้น รหัส
ส่วนที่เป็นโครงสร้างหยาบๆจะมาก่อนหรืออยู่ในชั้นที่ต่ำกว่ารหัสส่วนที่เป็นรายละเอียด ทำให้การเข้ารหัสเป็นแบบ
SNR progressive อีกด้วย
3. จุดเด่นของมาตรฐาน JPEG2000
เนื่องมาจากมาตรฐาน JPEG2000 นั้น ได้มีการพัฒนามาตรฐานการบีบอัดภาพของ JPEG ให้มี
ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม โดยมาตรฐาน JPEG2000 มีความสามารถเหนือกว่ามาตรฐานอื่นๆ ในด้านต่างๆ
ดังต่อไปนี้
1. มีสมรรถนะในการบีบอัดภาพที่อัตราบิตต่ำ (Superior Low Bit Rate Performance) โดยภาพที่ผ่านการบีบ
อัดแบบ JPEG2000 ที่อัตราบิตต่ำ (จำนวนบิตข้อมูลเฉลี่ยต่อ 1 จุดภาพ) มีประสิทธิภาพในการบีบอัด และ
ให้คุณภาพที่สูงกว่าการบีบอัดภาพแบบ JPEG ที่อัตราบิตต่ำ โดยสามารถที่จะรองรับอัตราบิตต่ำได้ถึง 0.25
บิตต่อจุดภาพ สำหรับภาพระดับเทา (Gray Scale) สามารถที่จะทำงานได้ดีที่ระดับอัตราบิตต่ำประมาณ
0.05 บิตต่อจุดภาพ
(ก)
รูปที่ 1 ภาพนิ่งที่สร้างคืนจากการบีบอัดที่ 0.125 bpp ด้วยมาตรฐาน ก) JPEG ข) JPEG
2. เป็นได้ทั้งการบีบอัดภาพแบบไร้ความสูญเสีย (Lossless Compression) และการบีบอัดแบบที่มีความสูญเสียเล็กน้อย (lossy Compression)
3. มีรูปแบบการส่งข้อมูลแบบก้าวไปข้างหน้า (Progressive Transmission) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมอย่างมากใน
การรับข้อมูลภาพบนช่องสัญญาณที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ (Slow Communication Link) การส่ง
แบบนี้ทำให้สามารถสร้างคืนภาพโดยมีความถูกต้องของจุดภาพและความละเอียดของภาพสูงขึ้นเรื่อยๆได้
ส่งผลให้สามารถสร้างคืนภาพได้ที่ความถูกต้องและความละเอียดตามที่ต้องการ หรือเลือกให้เหมาะสมกับ
อุปกรณ์ที่ใช้ได้
รูปที่ 2 ภาพแบบ progressive ความละเอียด
4. การเข้ารหัสเฉพาะบริเวณ (Region of interest หรือ ROI) เนื่องจากในภาพนิ่งหนึ่งๆ มักมีบริเวณที่มี
ความสำคัญสูงกว่าบริเวณอื่นๆ ผู้ใช้สามารถเลือกบริเวณที่ต้องการ เพื่อให้เข้ารหัสและส่งด้วยคุณภาพที่
ดีกว่าบริเวณอื่นๆได้
5. การสามารถเข้าถึงและประมวลผลรหัสเฉพาะบริเวณได้ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเลือกเข้าถึงบริเวณ ROI ใดๆ เพื่อ
สร้างภาพคืน หรือทำการประมวลผลต่างๆ ได้แก่ การหมุน หรือการขยายบริเวณนั้นๆ
6. ความทนทานต่อการเกิดความผิดพลาดของข้อมูลระดับบิตในช่องสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวน ได้แก่ การ
ส่งไร้สายและอินเทอร์เน็ต เนื่องจากบางส่วนของรหัสอาจะมีความสำคัญมากกว่าบริเวณอื่น จึงมีการ
ออกแบบรหัสให้สามารถแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูลได้
7. ด้านความปลอดภัย JPEG2000 รองรับการรักษาความปลอดภัยและลิขสิทธิ์ในรูปแบบของการทำลายน้ำ
และการเข้ารหัสภาพ
8. ภาพขนาดใหญ่ JPEG2000 รองรับขนาดรูปภาพได้สูงถึง 232-1 ในขณะที่ JPEG รองรับขนาดได้เพียง
64kX64k
9. รูปที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์
10. การปรับปรุงวิธีการบีบอัดภาพให้ดีขึ้นเพื่อรองรับภาพที่มีรายละเอียดและความละเอียดของภาพมากขึ้น
11. การรวมข้อมูลที่ไม่ใช่รูปภาพเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไฟล์
นอกจากนี้ JPEG2000 ยังสามารถรองรับรูปแบบของสีแบบอื่นๆนอกเหนือไปจากแบบ RGB ได้ด้วย
แตกต่างไปจาก JPEG ซึ่งสามารถรองรับได้เพียงสีแบบ RGB
แสดงความคิดเห็น