ปัจจุบันนี้กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในตลาดล้วนแต่เป็นกล้องสีเกือบทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นและราคาที่ถูกลง แต่ก็มีบางครั้งที่เมื่อติดตั้งกล้องแล้ว เอ๊ะ ทำไมภาพที่ออกมาดันเป็นขาว-ดำ?? คงเคยมีบ้างใช่มั๊ยครับไม่มากก็น้อยที่เกิดกรณีอย่างนี้ขึ้น และคำตอบส่วนใหญ่เลยก็คือ เราตั้งระบบสัญญาณวิดีโอผิดนั่นเองครับ
ถ้าเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นให้ลองพิจารณาดูที่ 2 อันดับแรกเลยครับ หนึ่ง คือที่เครื่องบันทึกภาพ กรณีที่ใช้เครื่องบันทึกภาพแบบ Stand Alone จะมีเมนูให้กำหนดค่ามาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสี (Television Broadcast Standard) โดยปกติบ้านเราจะใช้ระบบ PAL ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดค่าตรงนี้ให้เป็น PAL ด้วย เพราะบางทีเครื่องที่ซื้อมาอาจตั้งค่าดั้งเดิมเอาไว้เป็น NTSC ซึ่งจะทำให้ภาพที่ออกมาเป็นขาวดำ หรือบางกรณีอาจจะไม่มีภาพออกมาเลยก็เป็นได้ครับ
ถัดมาให้ดูที่ตัวเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์หรือ จอทีวีครับ ว่าตั้งไว้เป็น PAL หรือ NTSC ซึ่งก็ต้องเลือกเป็น PAL เช่นเดียวกันครับ ไม่เช่นนั้นผลลัพธ์ที่ได้ก็จะทำให้ได้ภาพไม่มีสีสัน ทั้งๆ ที่อุตส่าซื้อกล้องสีมานั่นแหละครับ
ไหนๆ ก็พูดมาถึงเรื่องสัญญาณวิดีโอแล้วผมก็จะขอเพิ่มเติมครับว่า มาตฐานการเผยแพร่สัญญาณภาพสีที่ว่าเป็น PAL หรือ NTSC นี้คืออะไร
มาตรฐานดังกล่าวที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 แบบ คือ NTSC, PAL และ SECAM แล้วแต่ว่าประเทศไหนจะใช้มาตรฐานใด ซึ่งประเทศไทยใช้ระบบ PAL ครับ ทีนี้เรามาทำความรู้จักกันทีละอันนะครับ
NTSC ย่อมาจาก The National Television Standard Committee เป็นมาตรฐานแรกของโลก พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1954 โดย FCC (Federal Communications Commission) หน่วยงานของสหรัฐอเมริกา มาตรฐานนี้จะมีจำนวนเส้นทีวีแนวนอน (TV Lines) 525 เส้น และแนวตั้ง 60 เส้น และมีจำนวนภาพ 30 ภาพต่อวินาที ระบบนี้มีชื่อเล่นๆ อีกอย่างครับว่า Never Twice the Same Color เพราะระบบนี้ให้สีที่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ อันนี้เค้าแซวกันขำๆ นะครับ ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา เป็นต้น
SECAM ย่อมาจาก Syst่me Electronique Pour Couleur Avec Mmoire พัฒนาขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1967 มาตรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และแนวตั้ง 50 เส้น มีการส่งสัญญาณหลายแบบ แต่ละแบบจะส่งสัญญาณภาพและเสียงแยกแบนด์วิธกัน เช่น แบบ B,D ส่ง VHF แบบ G,H,K ส่ง UHF แบบ I,N,M,K1,L ส่งทั้ง VHF/UHF และแต่ละแบบจะใช้เครื่องรับสัญญาณต่างกัน ระบบนี้ก็มีคำเต็มที่แซวกันเล่นๆ เช่นกันครับว่า Something Essentially Contrary to the American Method หรือบางทีก็ SEcond Colour Always Magenta อาจเพราะให้สีออกม่วงๆ ก็ได้ครับ มาตรฐานนี้ใช้แถบความถี่กว้างมาก ทำให้มีช่องไม่กี่ช่อง จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม ที่ใช้อยู่ก็มีประเทศฝรั่งเศส ประเทศแถบรัสเซีย หรือ ประเทศแถบผู้ก่อการร้าย และในแอฟริกา เป็นต้น
PAL ย่อมาจาก Phase Alternating Line พัฒนาขึ้นโดยวิศวกรชาวเยอรมันชื่อ Walter Bruch ในปี 1963 แต่เริ่มเอามาใช้ในเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนสิงหาคมปี 1967 มาจรฐานนี้มีจำนวนเส้นแนวนอน 625 เส้น และ 50 เส้นทางแนวตั้ง ความถี่จำนวนภาพ 25 ภาพต่อวินาที มีการแยกแบนด์วิทระหว่างสัญญาณภาพและเสียง ประเทศที่ใช้มาตรฐานนี้เช่น ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศในแถบยุโรป เป็นต้น ครับ และสุดท้ายมาตรฐานนี้ก็มีชื่อเล่นๆ ว่า Perfect At Last
หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อมาตรฐาน SECAM นัก ส่วน NTSC กับ PAL นั้น จะเห็นว่า PAL จะให้รายละเอียดจำนวนเส้นดีกว่าจึงให้ภาพที่คมชัดกว่า ขณะที่ให้จำนวนภาพต่อวินาทีน้อยกว่า ดังนั้นการบันทึกภาพในระบบ PAL จะใช้สื่อบันทึก เช่น ม้วนเทป น้อยกว่าในเวลาที่เท่ากัน
ตารางแสดงประเทศที่ใช้มาตรฐานสัญญาณต่างๆ
3 ความคิดเห็น:
มีข้อมูของต่างประเทศหรือเปล่าครับว่าแต่ละประเทศใชแบบไหนครับ
อยากทราบว่าค่ากันน้ำ ip มี 60 กับ 55 หมายถึงอะไร
อยากทราบความแตกต่างระหว่างกล้อง CS Mount,Mini Dome,Vari Focal,IR Waterproof camera,Speed Dome และ Hidden Camera ค่ะ
แสดงความคิดเห็น